ผู้เขียน หัวข้อ: doctor at home: ฮีโมฟิเลีย (Hemophilia)  (อ่าน 427 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 391
    • ดูรายละเอียด
doctor at home: ฮีโมฟิเลีย (Hemophilia)
« เมื่อ: ตุลาคม 29, 2024, 11:34:32 am »
doctor at home: ฮีโมฟิเลีย (Hemophilia)

ฮีโมฟิเลีย เป็นโรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบการแข็งตัวของเลือด คือ มีภาวะพร่องสารก่อเลือดแข็งตัวหรือปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (clotting factors) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ทำให้มีอาการเลือดออกง่ายและหยุดยาก

โรคนี้เกิดจากความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ มักมีอาการเกิดขึ้นตั้งแต่วัยทารกหรืออายุน้อยกว่า 18 เดือน บางคนจึงเรียกว่า “โรคเลือดง่ายแต่กำเนิด” หรือ “โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก”

โรคนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

    ฮีโมฟิเลียเอ (hemophilia A) ซึ่งมีการขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด ที่เรียกว่า “แฟกเตอร์ที่ 8 (factor VIII)” พบได้กว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยฮีโมฟิเลียทั้งหมด ในผู้ชายมีโอกาสพบโรคนี้ 1 ใน 10,000 คน และในผู้หญิงพบเป็นพาหะของโรคนี้ 1 ใน 5,000 คน
    ฮีโมฟิเลียบี (hemophilia B) ซึ่งมีการขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด ที่เรียกว่า “แฟกเตอร์ที่ 9 (factor IX)” พบได้เป็นส่วนน้อย ในผู้ชายพบโรคนี้ 1 ใน 40,000 คน และในผู้หญิงพบเป็นพาหะของโรคนี้ 1 ใน 20,000 คน

ทั้ง 2 ชนิด มีสาเหตุ อาการแสดง และภาวะแทรกซ้อนของโรคเหมือนกัน

หากมีระดับของแฟกเตอร์ที่ 8 หรือ 9 ต่ำกว่าร้อยละ 1 ของคนปกติ จัดว่าเป็นฮีโมฟิเลียแบบรุนแรง ซึ่งมักจะมีเลือดออกที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่มีการบาดเจ็บหรือกระทบกระแทก และมักมีเลือดออกในข้อ

หากมีระดับของแฟกเตอร์ที่ 8 หรือ 9 ร้อยละ 1-5 ของคนปกติ จัดว่าเป็นฮีโมฟิเลียแบบปานกลาง ซึ่งจะมีเลือดออกเมื่อได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยถึงปานกลาง

หากมีระดับของแฟกเตอร์ที่ 8 หรือ 9 ร้อยละ 5-40 จัดว่าเป็นฮีโมฟิเลียแบบเล็กน้อย จะมีเลือดออกเมื่อได้รับบาดเจ็บรุนแรงหรือผ่าตัด

สาเหตุ

ภาวะขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์แบบ X-linked (มีความผิดปกติที่โครโมโซม X) เช่นเดียวกับภาวะพร่องเอนไซม์ จี-6-พีดี ดังนั้นจึงพบโรคนี้ในผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ ผู้หญิงจะมีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ซึ่งไม่แสดงออก แต่สามารถถ่ายทอดไปให้ลูกหลาน ผู้หญิงส่วนน้อยมากที่อาจมีอาการของโรคนี้ แต่จะต้องมีทั้งพ่อแม่ที่มีกรรมพันธุ์ของโรคนี้ทั้งคู่ (ดูเพิ่มเติมใน “ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก และภาวะพร่องเอนไซม์ จี-6-พีดี”)

อาการ

ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกง่ายเป็น ๆ หาย ๆ มาตั้งแต่เล็ก มักจะเริ่มมีอาการครั้งแรกเมื่อเด็กเริ่มเคลื่อนไหวด้วยตนเอง (หลังอายุ 6 เดือนขึ้นไป และมักเกิดขึ้นก่อนอายุ 18 เดือน)

มักจะออกเป็นจ้ำใหญ่ (ไม่เป็นจุดแดง) หรือออกเป็นก้อนนูน โดยมักเกิดจากการกระทบกระแทกเล็ก ๆ น้อย ๆ

อาจมีเลือดกำเดาไหล หรือถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะเป็นเลือด โดยไม่ทราบสาเหตุ

บางรายอาจมีบาดแผล (เช่น มีดบาด) ซึ่งมีเลือดออกนานและหยุดยาก หรือบางรายอาจมีเลือดออกในกล้ามเนื้อจนซีด และช็อก

บางรายอาจมีเลือดออกโดยเกิดขึ้นเองก็ได้ ที่มีอันตรายร้ายแรง คือ อาจมีเลือดออกเองในข้อ (ที่พบ ได้แก่ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อมือ ข้อเท้า) ทำให้มีอาการปวดบวม แดง ร้อน คล้ายข้ออักเสบ หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ข้อติดแข็งพิการได้

ในรายที่เป็นฮีโมฟิเลียแบบเล็กน้อย มักมีเลือดออกเวลารับการผ่าตัดหรือถอนฟันหรือบาดเจ็บรุนแรง

ทารกที่ยังสื่อสารไม่ได้ เมื่อมีอาการเลือดออกตามข้อหรือกล้ามเนื้อ อาจแสดงอาการร้องกวนงอแง กระสับกระส่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ

ภาวะแทรกซ้อน

ซีด ช็อก เลือดออกในข้อทำให้ข้อติดแข็งพิการ เลือดออกในสมอง อาจถึงเสียชีวิตได้

ถ้ามีเลือดออกในกล้ามเนื้อแขนหรือขา ทำให้แขนหรือขาบวม และอาจกดถูกเส้นประสาทเกิดอาการปวดเสียวหรือชาได้

ถ้ามีเลือดออกในกล้ามเนื้อของคอหรือกล่องเสียง อาจทำให้กดท่อลม (trachea) เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ มีอันตรายถึงตายได้

ผู้ป่วยที่รับการถ่ายเลือดบ่อย ๆ ก็อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบีและซีได้

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย

สิ่งตรวจพบที่สำคัญ ได้แก่ พบมีเลือดออกเป็นจ้ำเลือด (รอยฟกช้ำ) ขนาดใหญ่ ก้อนนูนหรือก้อนเลือดคั่งใต้ผิวหนัง (hematoma)

ข้อบวม ออกร้อนและปวด เคลื่อนไหวลำบาก

ก้อนบวม ออกร้อน และปวดที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของแขน ขา ลำตัว

มีภาวะเลือดออกนานและหยุดยาก เวลามีบาดแผลจากการบาดเจ็บ ผ่าตัด หรือ ถอนฟัน

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจพบระดับปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (แฟกเตอร์ที่ 8 หรือ 9) ในเลือดต่ำกว่าปกติ

การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

การรักษา ที่สำคัญ คือการให้พลาสมาสดแช่แข็ง (fresh frozen plasma) ที่มีปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (มีแฟกเตอร์ที่ 8 และ 9 ที่เข้มข้น ซึ่งสกัดจากพลาสมาของผู้บริจาคเลือดและผ่านกระบวนการทำลายเชื้อเอชไอวีและไวรัสตับอักเสบ)

ในกรณีที่มีเลือดออกรุนแรง ซึ่งต้องให้ปัจจัยการแข็งตัวของเลือดขนาดมาก หรือต้องการหลีกเลี่ยงการติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบีและซี แพทย์จะให้แฟกเตอร์ที่ 8 หรือ 9 ซึ่งสังเคราะห์ด้วยวิธีพันธุวิศวกรรม (ได้แก่ recombinant factor VIII หรือ IX) ตามชนิดของฮีโมฟิเลีย

สารเหล่านี้จะให้เพื่อการรักษาขณะที่มีภาวะเลือดออกเกิดขึ้น และอาจให้เพื่อการป้องกันก่อนเข้ารับการผ่าตัดหรือถอนฟัน ขนาดของสารที่ใช้รักษาและระยะเวลาของการรักษาขึ้นกับความรุนแรงและตำแหน่งของเลือดที่ออก

ผู้ป่วยที่เป็นฮีโมฟิเลียที่มีอาการรุนแรงและอาการปานกลาง แพทย์จะให้พลาสมาสดแช่แข็งชนิดสำเร็จรูปไว้ประจำที่บ้าน และใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดด้วยตนเอง หรือให้ญาติช่วยฉีดให้เมื่อมีเลือดออก การให้การรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงทีจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนและความพิการในระยะยาวได้

ในรายที่เป็นฮีโมฟิเลียชนิดเอแบบเล็กน้อยและปานกลาง แพทย์อาจให้ยาเดสโมเพรสซิน (desmopressin) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการสร้างแฟกเตอร์ที่ 8 หลังมีการบาดเจ็บ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดเล็กหรือถอนฟัน ยานี้มีทั้งชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำและพ่นจมูก ยานี้ใช้ไม่ได้ผลกับโรคฮีโมฟิเลียแบบรุนแรง

นอกจากนี้ ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกในข้อ ข้อติดแข็งหรือพิการ ก็จะให้การรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย

ผลการรักษา ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ก็มักจะมีชีวิตได้ยืนยาวและลดภาวะแทรกซ้อนลงได้มาก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจสร้างสารภูมิต้านทานต่อสารที่ใช้รักษา (ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด) ทำให้การรักษาได้รับผลไม่สู้ดี อาจต้องเพิ่มขนาดของสารที่ใช้รักษา หรือเปลี่ยนไปใช้สารชนิดอื่นแทน

การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น พบว่าเด็กมีอาการเลือดออกง่ายเวลามีบาดแผล (เช่น มีดบาด) มีเลือดออกนานและหยุดยาก มีอาการข้อบวม หรือมีก้อนบวมที่แขนขาหรือลำตัวซึ่งเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เวลาถูกกระทบกระแทกเบา ๆ ก็เกิดรอยฟกช้ำเป็นจ้ำเลือดขนาดใหญ่หรือออกเป็นก้อนนูน หรือมีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ (เช่น กำเดาไหล ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะเป็นเลือด) โดยไม่ทราบสาเหตุ ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

เมื่อตรวจพบว่าเป็นฮีโมฟิเลีย ควรดูแลรักษา ดังนี้

    ดูแลรักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    หาทางหลีกเลี่ยงจากการกระทบกระแทกหรืออุบัติเหตุต่าง ๆ โดยมีการดำเนินชีวิตและมีอาชีพที่เหมาะสม ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกาย เช่น ว่ายน้ำ เดินเร็ว ขี่จักรยานได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่มีการปะทะหรือเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เช่น ฟุตบอล ฮอกกี้
    ดูแลสุขภาพฟัน อย่าให้ฟันผุ ฟันเสีย เพื่อหลีกเลี่ยงการถอนฟัน ที่อาจทำให้เลือดออกรุนแรง
    หลีกเลี่ยงการซื้อยาแก้ปวด แก้ข้ออักเสบกินเอง และยาอื่น ๆ ที่ทำให้เลือดออกได้ง่าย
    เมื่อรู้สึกเริ่มมีอาการปวดหรือตึงข้อ (ซึ่งแสดงว่าเริ่มมีเลือดออก) ให้ฉีดพลาสมาสดแช่แข็งชนิดสำเร็จรูปที่มีติดบ้านเข้าไปในหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันไม่ให้มีเลือดออกรุนแรงต่อไป
    เวลาที่ไปพบแพทย์เพื่อทำหัตถการที่เสี่ยงต่อเลือดออก (เช่น ทำฟัน ฉีดยา ผ่าตัด) ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อเตรียมยาและอุปกรณ์ในการห้ามเลือดไว้พร้อมในการแก้ไข

ควรกลับไปพบแพทย์โดยเร็ว ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีอาการที่สงสัยว่ามีเลือดออกในสมอง เช่น มีอาการปวดศีรษะมาก อาเจียนมาก คอแข็ง (ก้มคอไม่ลง) เห็นภาพซ้อน ซึมมาก แขนขาอ่อนแรงหรือชัก
    มีเลือดออก ทำการห้ามเลือดเบื้องต้นแล้วเลือดไม่หยุดไหล
    เมื่อมีอาการที่เลือดเริ่มออก (เช่นอาการปวดหรือตึงข้อ) และฉีดพลาสมาสดแช่แข็งที่บ้านแล้วไม่ได้ผล (เช่น มีอาการปวดและบวมที่ข้อมากขึ้น)
    ประสบอุบัติเหตุ หรือได้รับบาดเจ็บ

การป้องกัน

การป้องไม่ให้เป็นโรคนี้ทำได้ยาก เนื่องจากโรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ผู้ป่วยและผู้ที่สงสัยมีพันธุกรรมของโรคนี้แฝงอยู่ เมื่อวางแผนจะแต่งงานหรือต้องการจะมีบุตร ควรปรึกษาแพทย์ในการลดความเสี่ยงต่อการมีบุตรที่เกิดมาเป็นโรคนี้ แพทย์อาจทำการตรวจดีเอ็นเอ (พันธุกรรม) ของคู่สมรส และเมื่อตั้งครรภ์แพทย์อาจทำการตรวจดูว่าทารกในครรภ์เป็นโรคนี้หรือไม่ ดังที่เรียกว่า การวินิจฉัยก่อนคลอด (prenatal diagnosis)

ข้อแนะนำ

1. โรคนี้จะเป็นติดตัวตลอดชีวิต โดยมีอาการเลือดออกเป็นครั้งคราว ในปัจจุบันสามารถให้การดูแลรักษาจนมีอายุยืนยาวเท่าคนปกติได้โดยการให้พลาสมาสดแช่แข็ง แฟกเตอร์ที่ 8/9 ชนิดสังเคราะห์ (recombinant factor VIII/IX) หรือเดสโมเพรสซิน

เด็กที่เป็นฮีโมฟิเลียบางคน แพทย์อาจให้แฟกเตอร์ที่ 8/9 ชนิดสังเคราะห์ ฉีดป้องกันวันละ 3 ครั้ง (สำหรับฮีโมฟิเลียเอ) หรือ 2 ครั้ง (สำหรับฮีโมฟิเลียบี) ตั้งแต่อายุ 1 ปีจนถึงวัยหนุ่มสาว

2. ผู้ป่วยควรทราบหมู่เลือดของตัวเอง และควรมีสิ่งแสดงว่าตัวเองเป็นโรคนี้และมีหมู่เลือดอะไร สถานที่รักษา เบอร์โทรศัพท์ของแพทย์ผู้รักษา (อาจเป็นบัตรประจำตัวหรือเหรียญ) พกติดตัวไว้เสมอ เผื่อประสบอุบัติเหตุ หรือมีเลือดออก จะได้ให้ความช่วยเหลือได้ถูกต้องและทันท่วงที

3. ในการฉีดยารักษาโรคแก่ผู้ป่วย แพทย์จะหลีกเลี่ยงการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เพราะอาจทำให้มีก้อนเลือดคั่งอยู่ในกล้ามเนื้อได้ จะเปลี่ยนมาใช้ยาชนิดกิน หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือเข้าทางหลอดเลือดดำ แต่หากจำเป็นต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จะฉีดโดยการใช้เข็มเบอร์ขนาดเล็ก ทำการกดแผลที่ฉีดไว้นาน ๆ เพื่อป้องกันเลือดออกที่กล้ามเนื้อ และติดตามดูอาการเลือดออกเป็นเวลาอย่างน้อยใน 24 ชั่วโมง หรืออาจฉีดพลาสมาสดแช่แข็งก่อนที่จะฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ

4. พ่อแม่และพี่น้องของผู้ป่วย ควรตรวจเช็กว่ามีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติหรือมีโรคนี้ (อาจเป็นฮีโมฟิเลียแบบเล็กน้อย) ซ่อนเร้นอยู่หรือไม่ จะได้หาทางดูแลให้เหมาะสมได้

5. โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ซึ่งมีอาการตั้งแต่อายุ 6-18 เดือน แต่ก็อาจพบในผู้ใหญ่ที่ไม่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์และไม่มีอาการเลือดออกง่ายหยุดยากมาก่อน มีสาเหตุจากร่างกายมีปฏิกิริยาภูมิต้านตัวเอง (ออโตอิมมูน) คือ เกิดมีสารภูมิต้านทานต่อปัจจัยการแข็งตัวของเลือดทำให้ร่างกายพร่องปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (แฟกเตอร์ที่ 8 และ 9) เกิดอาการเลือดออกง่ายหยุดยาก เรียกว่า “โรคฮีโมฟิเลียชนิดเกิดในภายหลัง (acquired hemophilia)”

ภาวะนี้ส่วนหนึ่งอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน

อีกส่วนหนึ่งอาจพบในหญิงตั้งครรภ์ โรคมะเร็ง (เช่น มะเร็งปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ เต้านม ปากมดลูก ต่อมน้ำเหลือง) หรือ โรคภูมิต้านตัวเอง (เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เอสแอลอี คอพอกเป็นพิษ หลอดเลือดแดงขมับอักเสบ) หรือ การแพ้ยา การรักษาสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ นอกจากให้การรักษาแบบเดียวกับฮีโมฟิเลียที่พบในเด็กแล้ว ยังต้องรักษาโรคที่พบร่วมพร้อมกันไปด้วย


 























































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า