ผู้เขียน หัวข้อ: ไวรัสตับอักเสบ ต้นเหตุของมะเร็งตับ (Hepatitis)  (อ่าน 392 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 351
    • ดูรายละเอียด
ไวรัสตับอักเสบ ต้นเหตุของมะเร็งตับ (Hepatitis)

ไวรัสตับอักเสบมี 5 ชนิดประกอบด้วย ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสที่เป็นปัญหาสำคัญในบ้านเรา ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบีและซีเนื่องจากไวรัสทั้ง 2 ชนิดทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

     ในประเทศไทยคาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณร้อยละ 5 ของประชากร หรือประมาณ 2 - 3 ล้านคน ส่วนผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีประมาณร้อยละ 0.4 ของประชากรหรือประมาณ 300,000 คน

ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอีจะมีลักษณะการติดต่อที่แตกต่างกันไปตามชนิด

    ไวรัสตับอักเสบ A #พบได้บ่อย

     การติดต่อ : ติดต่อทางอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

     อาการ : ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียน ดีซ่าน

    ไวรัสตับอักเสบ B #พบได้บ่อย

     การติดต่อ : ติดต่อทางเลือด เพศสัมพันธ์ จากมารดาสู่บุตร

     อาการ : ตับอักเสบรุนแรง อาจพัฒนาไปเป็นโรคตับ มะเร็งตับ

    ไวรัสตับอักเสบ C

     การติดต่อ : ติดเชื้อทางเลือด เพศสัมพันธ์

     อาการ : ตับอักเสบเรื้อรัง จนกลายเป็นตับแข็ง มะเร็งตับได้

    ไวรัสตับอักเสบ D

     การติดต่อ : ติดเชื้อทางเลือด กลุ่มเสี่ยงคือผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบ B

     อาการ : ตับอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยตับเรื้อรังรุนแรงเสี่ยงเสียชีวิตได้

    ไวรัสตับอักเสบ E

     การติดต่อ : เกิดจากทานอาหารที่ปรุงไม่สุก เช่น เนื้อหมู สัตว์ปีก

     อาการ : ตาเหลือง ตัวเหลือ อ่อนเพลีย

โรคไวรัสตับอักเสบบีและซีมีความสำคัญอย่างไร?

     ไวรัสตับอักเสบบี

     ในบ้านเราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีส่วนใหญ่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก หากว่าติดแต่เด็กจะเป็นเรื้อรัง โดยพบว่าช่วง 10 - 15 ปีแรกจะมีปริมาณไวรัสสูงมาก แต่ตับยังไม่อักเสบเพราะเม็ดเลือดขาวยังไม่ทราบว่ามีไวรัสอยู่ในร่างกาย จนเข้าสู่วัยรุ่นเมื่อเม็ดเลือดขาวเริ่มตรวจพบและทำลายเซลล์ตับที่มีไวรัสอยู่ จึงทำให้มีไวรัสตับอักเสบเกิดขึ้น ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ โดยอาจมีการอักเสบของตับเรื้อรัง โดยอาจมีการอักเสบของตับเรื่อรัง มีไวรัสขึ้นๆ ลงๆ ร่วมกับการทำงานของตับผิดปกติ เกิดการอักเสบเรื้อรังและมีพังผืดเกิดขึ้นมาแทนที่ ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ นานวันเข้าจะมีภาวะตับแข็งและมะเร็งตับเกิดขึ้น ซึ่งพบประมาณร้อยละ 15 - 40 ของผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเรื้อรัง

     ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 100 เท่า และจะมีความเสี่ยงมากขึ้นอีกหากมีปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ เพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ พบว่าผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งตับมีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ มีโรคตับอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การดื่มสุรา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบดี จะทำให้ตับมีการอักเสบมากขึ้น การได้รับสารก่อมะเร็งโดยเฉพาะสารอะฟลาท็อกซิน (aflatoxin)  ซึ่งสร้างจากเชื้อราที่มักพบในธัญพืชที่เก็บไว้นานๆ หรือในที่ชื้น โดยเฉพาะถั่วลิสงป่น พริกป่น สารอะฟลาท๊อกซินสามารถทนความร้อนได้ดีและจะไม่ถูกทำลายด้วยการหุงต้ม

     ไวรัสตับอักเสบซี

     การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมักไม่ทำให้เกิดอาการเฉียบพลัน มากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้จะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ หากไม่ได้ไปพบแพทย์หรือตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับก็จะไม่ทราบว่าตนเองมีตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งร้อยละ 20 - 30 ของผู้ป่วยเหล่านี้จะเกิดภาวะตับแข็งภายใน 20-30 ปี และนำไปสู่มะเร็งตับในที่สุด

     ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับเพิ่มขึ้นประมาณ 20 เท่า พบว่าผู้ที่ดื่มสุราหรือมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือเอดส์ร่วมด้วยจะเกิดตับแข็งในเวลาอันรวดเร็ว


ไวรัสตับอักเสบบีและซีป้องกันอย่างไร?

     เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีได้หลายวิธี ประกอบด้วย

    หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การเจาะ สักผิวหนัง การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น การใช้ของมีคมร่วมกับบุคคลอื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ การมีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน บุคลากรทางการแพทย์ควรสวมถุงมือ แว่นตา หรือชุดคลุม เมื่อต้องสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยทุกครั้ง
    หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรพบแพทย์เพื่อประเมินว่ามีความจำเป็นต้องกินยาต้านไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ หากเชื้อไวรัสมีปริมาณมากควรได้รับยาต้านไวรัสช่วง 3 เดือนก่อนคลอด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก และทารกควรได้รับการฉีดวัคซีนอินมูโนกลอบบูลิน (hepatitis B immunoglobulin, HBIG) เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกคลอด
    การฉีดวัคซีน เรายังสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้โดยการฉีดวัคซีนซึ่งมีประสิทธิภาพดี โดยฉีดเพียง 3 เข็ม สามารถสร้างภูมิต้านทานซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต ส่วนวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซีในปัจจุบันไม่มี

ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี?

     ในปัจจุบันวัคซีนมีราคาถูกลงมากและมีความปลอดภัยสูงจึงควรฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่ยังไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและยังไม่มีภูมิต้านทานทุกคน ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่

    ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นไวรัสตับอักเสบบี
    ทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี
    บุคลากรทางการแพทย์
    สามีหรือภรรยาของผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี
    ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไต
    ผู้ที่ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
    ผู้ป่วยที่ต้องได้รับยากดภูมิต้านทาน

ต้องตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีนหรือไม่?

     ในทารกไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีน แต่ในผู้ใหญ่ควรตรวจเลือดก่อน เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อหรืออาจมีภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบีแล้ว โดยตรวจ HBsAg ว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ และตรวจ anti-HBs ว่ามีภูมิต้านทานเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ โดยต้องมีระดับของภูมิต้านทานมากกว่า 10 ยูนิต/มล.


ฉีดวัคซีนอย่างไร?

     การฉีดวัคซีนแนะนำให้ฉีด 3 เข็มเข้ากล้ามเนื้อที่ต้นแขน เดือนที่ 0, 1 และ 6 ตามลำดับ วัคซีนเข็มที่สองไม่ควรฉีดก่อน 1 เดือน หากเลยกำหนด 1 เดือนให้ฉีดเข็มที่ 2 ทันทีที่นึกได้ และนับต่อไปอีก 5 เดือนสำหรับเข็มที่ 3 การฉีดให้ฉีดเข้ากล้ามที่ต้นแขนเท่านั้น ยกเว้นในทารกควรฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่หน้าขาเพราะแขนมีขนาดเล็กมาก ขนาดที่ฉีดหากอายุน้อยกว่า 18 ปีให้ใช้ขนาดเด็ก และมากกว่า 18 ปี ให้ใช้ขนาดผู้ใหญ่

     วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีในปัจจุบันผลิตโดยใช้วิธีทางพันธุวิศวกรรมทั้งสิ้น ไม่มีวัคซีนที่ผลิตจากน้ำเลือดอีกแล้ว การฉีดวัคซีนทั้ง 3 เข็มจะใช้ของบริษัทใดก็สามารถใช้ทดแทนกันได้หมด


การฉีดวัคซีนมีผลเสียหรือไม่?

     การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีมีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ 1-2 วัน เจ็บหรือมีผื่นแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน

ต้องตรวจเลือดซ้ำเพื่อดูภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีนครบหรือไม่?

     เมื่อฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม โดยทั่วไปมักจะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้นร้อยละ 95 จึงไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดซ้ำ เพื่อดูว่ามีภูมิต้านทานหรือไม่   ยกเว้นในบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงควรตรวจดูระดับของภูมิต้านทาน 1-2 เดือน หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 3


หากฉีดวัคซีนแล้วภูมิต้านทานไม่ขึ้นควรทำอย่างไร?

     ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้วภูมิต้านทานไม่ขึ้น พบได้น้อยประมาณร้อยละ 5 แนะนำให้ฉีดวัคซีนซ้ำ โดยอาจเพิ่มจำนวนเป็น 4 เข็ม เดือนที่ 0, 1, 2 และ 6 เดือน หรือเพิ่มขนาดของวัคซีน หรือเปลี่ยนวิธีการฉีดจากฉีดเข้ากล้ามเนื้อเป็นเข้าชั้นผิวหนัง (intradermal injection) ซึ่จะกระตุ้นภูมิต้านทานได้มากขึ้น


จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นหรือไม่?

     ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนครบจะค่อยๆ ลดลงตามระยะเวลามากกว่า 1 ใน 3 อาจมีภูมิตกลงจนตรวจไม่พบ แต่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นอย่างรวดเร็ว หากได้รับเชื้อจึงไม่มีความจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นอีก ยกเว้นในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดหรือผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง


หากโดนเข็มตำต้องทำอย่างไร?

    หากบุคลากรทางการแพทย์โดนเข็มเจาะเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีต่ำ
    หากยังไม่มีภูมิต้านทาน การฉีดวัคซีน 3 เข็มอย่างเดียว อาจสร้างภูมิคุ้มกันไม่ทัน ต้องฉีดอิมมูโน กลอบบูลิน (hepatitis B immunoglobulin; HBIG) ร่วมด้วยเสมอเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
    ในกรณีที่มีภูมิต้านทานแต่ระดับน้อยกว่า 10 ยูนิต ควรได้รับการฉีดอิมมูโนกลอบบูลิน ร่วมกับวัคซีน 1 เข็ม เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทาน เนื่องจากภูมิต้านทานที่มีอยู่อาจไม่สูงเพียงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ
    ในกรณีที่มีภูมิต้านทานมากกว่า 10 ยูนิต ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม นอกเหนือจากไวรัสตับอักเสบบี ผู้ที่โดนเข็มตำควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูไวรัสตับอักเสบซีและเอชไอวีร่วมด้วย

 























































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า