ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)  (อ่าน 59 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 411
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (โรคปวดข้อรูมาตอยด์ ก็เรียก) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง พบได้ประมาณร้อยละ 1-3 ของคนทั่วไป พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 4-5 เท่า และพบมากในช่วงอายุ 20-50 ปี แต่ก็พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย

สาเหตุ

โรคนี้พบว่ามีการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุข้อเกือบทุกแห่งทั่วร่างกายพร้อม ๆ กัน ร่วมกับมีการอักเสบของพังผืดหุ้มข้อ เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อ เชื่อว่าเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการตอบสนองอย่างผิดปกติต่อเชื้อโรค หรือสารเคมีบางอย่าง (ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน) ทำให้มีการสร้างสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี) ที่มีปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อในบริเวณข้อของตัวเอง เรียกว่า ปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง (autoimmune)

พบว่าอาจมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้มากขึ้น เช่น การมีประวัติว่ามีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ การสูบบุหรี่ ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน

อาการ

ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป เริ่มด้วยอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและกระดูกนำมาก่อนนานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน แล้วต่อมาจึงมีอาการอักเสบของข้อปรากฏให้เห็น

ส่วนน้อยอาจมีอาการของข้ออักเสบเกิดขึ้นฉับพลันภายหลังได้รับบาดเจ็บ เป็นโรคติดเชื้อ หลังผ่าตัด หลังคลอด หรืออารมณ์เครียด ซึ่งบางรายอาจมีอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต ม้ามโตร่วมด้วย

ข้อที่เริ่มมีอาการอักเสบก่อน ได้แก่ ข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า ต่อมาจะเป็นที่ข้อไหล่ ข้อศอก

ผู้ป่วยจะมีลักษณะจำเพาะ คือมีอาการปวดข้อพร้อมกันและคล้ายคลึงกันทั้ง 2 ข้าง และข้อจะบวมแดงร้อน นิ้วมือนิ้วเท้าจะบวมเหมือนรูปกระสวย ต่อมาอาการอักเสบจะลุกลามไปทุกข้อทั่วร่างกาย ตั้งแต่ข้อขากรรไกรลงมาที่ต้นคอ ไหปลาร้า ข้อไหล ข้อศอก ข้อมือ ข้อนิ้วมือลงมาจนถึงข้อเท้าและข้อนิ้วเท้า

บางรายอาจมีอาการอักเสบของข้อเพียง 1 ข้อ หรือไม่กี่ข้อ และอาจเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย (ไม่เกิดพร้อมกันทั้ง 2 ข้างของร่างกาย) ก็ได้

อาการปวดข้อและข้อแข็ง (ขยับลำบาก) มักจะเป็นมากในช่วงตื่นนอนหรือตอนเช้า ทำให้รู้สึกขี้เกียจหรือไม่อยากตื่นนอน พอสาย ๆ หรือหลังมีการเคลื่อนไหวของร่างกายจะทุเลา

บางรายอาจมีการปวดข้อตอนกลางคืน จนนอนไม่หลับ

อาการปวดข้อจะเป็นอยู่ทุกวัน และมากขึ้นทุกขณะนานเป็นแรมเดือนแรมปี โดยมีบางระยะอาจทุเลาไปได้เอง แต่จะกลับกำเริบรุนแรงขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะมีความเครียดหรือขณะตั้งครรภ์

ถ้าข้ออักเสบเรื้อรังอยู่หลายปี ข้ออาจจะแข็งและพิการได้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ภาวะโลหิตจาง ฝ่ามือแดง มีผื่นหรือตุ่มขึ้นตามผิวหนัง อาการปวดชาปลายมือจากภาวะเส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่น อาการนิ้วมือนิ้วเท้าซีดขาวและเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำเวลาถูกความเย็น (Raynaud’s phenomenon) ต่อมน้ำเหลืองโต ม้ามโต ตาอักเสบ หูอื้อ หูตึง หัวใจอักเสบ หลอดเลือดแดงอักเสบ ปอดอักเสบ ภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ไข้ต่ำ ๆ น้ำหนักลด เป็นต้น


ภาวะแทรกซ้อน

ถ้าเป็นรุนแรงและเรื้อรังอาจทำให้ข้อพิการผิดรูปผิดร่าง ใช้การไม่ได้ บางรายอาจมีการผุกร่อนของกระดูก ในบ้านเราพบว่ามีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว

นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคนี้ยังอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นเส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่น (โรคคาร์พัลทูนเนล) โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และโรคปอดเรื้อรัง (จากการอักเสบและกลายเป็นพังผืดของเนื้อเยื่อปอด)


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ ดังนี้

ในระยะแรกอาจตรวจไม่พบอาการชัดเจน ในระยะที่เป็นมากอาจพบข้อนิ้วมือนิ้วเท้าบวมเหมือนรูปกระสวย

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการตรวจเลือดจะพบค่าอีเอสอาร์ (ESR)* และ c-reactive protein สูง และมักจะพบรูมาตอยด์แฟกเตอร์ (rheumatoid factor) และสารภูมิต้านทานที่มีชื่อว่า "Anti-cyclic citrullinated peptide (anti-CCP) antibodies"

การตรวจเอกซเรย์ข้อจะพบมีการสึกกร่อนของกระดูก และความผิดปกติของข้อ

นอกจากนี้ แพทย์อาจทำการตรวจอัลตราซาวนด์และถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค

*อีเอสอาร์ (ESR) ย่อจาก erythrocyte sedimentation rate หมายถึง อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง ค่าปกติต่ำกว่า 20 มม. ใน 1 ชั่วโมง


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

เริ่มแรกจะให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนก นาโพรเซน)

ยานี้ต้องกินติดต่อกันทุกวัน นานเป็นเดือน ๆ หรือปี ๆ จนกว่าอาการจะทุเลา

ขณะเดียวกันก็จะให้การรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมไปด้วย เช่น การใช้น้ำร้อนประคบ การแช่หรืออาบน้ำอุ่น ซึ่งมักจะแนะนำให้ทำในตอนเช้านาน 15 นาที

ผู้ป่วยควรพยายามขยับข้อต่าง ๆ อย่างช้า ๆ ท่าละ 10 ครั้ง ทำซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้

แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยทำการฝึกกายบริหารในท่าต่าง ๆ ซึ่งควรทำเป็นประจำทุกวัน จะช่วยให้ข้อทุเลาความฝืดและเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ผู้ป่วยควรหาเวลาพักผ่อน สลับกับการทำงาน หรือการออกกำลังกายเป็นพัก ๆ

ในรายที่เป็นรุนแรง อาจต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน และอาจต้องเข้าเฝือกเพื่อให้ข้อที่ปวดได้พักอย่างเต็มที่

ถ้าให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ไม่ได้ผล อาจต้องให้สเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบ แต่จะให้กินเป็นระยะสั้น

นอกจากนี้ แพทย์จะพิจารณาให้ยากลุ่ม Disease-modifying antirheumatic drugs (DMARDs) ที่ช่วยชะลอความรุนแรงของโรค และป้องกันภาวะข้อถูกทำลาย เช่น ไฮดรอกซีคลอโรควีน (hydroxychloroquine), เมโทเทรกเซต (methotrexate), ซัลฟาซาลาซีน (sulfasalazine), ไซโคลสปอริน (cyclosporin), เลฟลูโนไมด์ (leflunomide) เป็นต้น ซึ่งมักจะได้ผลค่อนข้างดี และช่วยให้โรคมีระยะสงบ ไม่มีอาการ (remission) ไปได้

หากไม่ได้ผล แพทย์อาจให้ยาต้านการอักเสบกลุ่มใหม่ ๆ (เช่น etanercept, infliximab, rituximab, baricitinib, tofacitinib) ซึ่งมักให้ร่วมกับเมโทเทรกเซต (methotrexate)

ในรายที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล และข้อถูกทำลายผิดรูปผิดร่าง ใช้การไม่ได้ แพทย์จะพิจารณาทำการผ่าตัดแก้ไข รวมทั้งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม (joint replacement) เพื่อให้กลับมาใช้การได้


การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการปวดข้อและข้อแข็ง (ขยับลำบาก กำมือลำบาก) ซึ่งมักจะเป็นมากในช่วงตื่นนอนหรือตอนเช้า หรือมีอาการปวดข้อนิ้วมือทุกข้อพร้อมกันและคล้ายคลึงกันทั้ง 2 ข้าง  ข้อนิ้วมือบวมเหมือนรูปกระสวย หรือมีอาการอักเสบของข้อเพียง 1 ข้อ หรือไม่กี่ข้อ ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    หมั่นบริหารข้อตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ขยับข้อต่าง ๆ อย่างช้า ๆ ท่าละ 10 ครั้ง ทำซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง, ใช้น้ำอุ่นจัด ๆ ประคบ, แช่หรืออาบน้ำอุ่น
    ลดน้ำหนักถ้ามีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน
    ออกกำลังกายที่ไม่รุนแรง เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ รำมวยจีน เป็นต้น
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน ถ้ากินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา (เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระดำ ท้องเดิน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ) ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด


การป้องกัน

ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

ควรป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม โดยการไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาแต่เนิ่น ๆ เมื่อสังเกตว่ามีอาการที่น่าสงสัย


ข้อแนะนำ

1. โรคนี้มีระยะสงบ (ไม่มีอาการ) และอาการข้ออักเสบกำเริบสลับกันไป ส่วนน้อยที่อาจหายขาด และส่วนน้อยที่จะเป็นรุนแรงเกิดข้อพิการในเวลารวดเร็ว ผู้ป่วยควรติดตามการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง การใช้ยา การรักษาทางกายภาพบำบัด การกำหนดเวลาพักผ่อน ทำงาน และออกกำลังกายให้พอเหมาะ จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทำงานได้เป็นปกติส่วนใหญ่

2. หัวใจของการรักษาโรคอยู่ที่การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเป็นสำคัญ กล่าวคือ จะต้องพยายามเคลื่อนไหวข้อและฝึกกายบริหารเป็นประจำทุกวัน อย่าอยู่นิ่ง ๆ เพราะยิ่งอยู่นิ่งข้อยิ่งฝืดแข็ง และขยับยากยิ่งขึ้น

3. ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยาชุดกินเอง เพราะถึงแม้จะช่วยให้อาการทุเลาได้ แต่ก็อาจเกิดโทษจากยาสเตียรอยด์ หรือยาอันตรายอื่น ๆ ที่ผสมอยู่ในยาชุด

4. เนื่องจากยาที่ใช้รักษาโรคนี้ส่วนใหญ่มีผลข้างเคียงในลักษณะต่าง ๆ กัน ผู้ป่วยควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาและผลข้างเคียงของยาที่ใช้ หากมีอาการที่สงสัยว่าเกิดจากผลข้างเคียง (เช่น ปวดแสบ ปวดจุกแน่นท้อง ถ่ายอุจจาระดำ เป็นไข้ หรือเป็นโรคติดเชื้อบ่อย) เป็นต้น ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด

5. ชาวบ้านอาจมีความสับสนในคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้เรียกเกี่ยวกับอาการปวดข้อ เช่น คำว่า รูมาติสซั่ม (rheumatism) ซึ่งหมายถึงภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้มีอาการเจ็บปวด ปวดเมื่อย หรือปวดล้าของข้อ เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อ ดังนั้นจึงเป็นคำที่ใช้เรียกอาการปวดข้อ ปวดเส้นเอ็นและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยรวม ๆ ซึ่งสามารถแบ่งแยกสาเหตุได้มากมาย (ตรวจอาการปวดข้อ) ดังนั้น รูมาติสซั่ม (โรคปวดข้อ) จึงอาจมีสาเหตุจากข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไข้รูมาติก โรคเกาต์ และอื่น ๆ ไม่ได้หมายถึงโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์โดยเฉพาะ

 























































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า