ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)  (อ่าน 242 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 565
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) เป็นโรคติดเชื้อบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลัง จนส่งผลให้บริเวณดังกล่าวอักเสบบวม และนำไปสู่อาการต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ คอแข็งขยับไม่ได้ และเป็นไข้

เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา โดยโรคนี้จะพบได้ทั้งในเด็กอ่อน เด็กเล็ก วัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งบางชนิดอาจเป็นอันตรายร้ายแรงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบในระยะแรกเริ่มอาจคล้ายคลึงอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยจะแสดงอาการมากขึ้นเมื่อผ่านไปหลายชั่วโมงหรือเป็นเวลา 2–3 วันแล้ว โดยอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้

    ตึงบริเวณคอ
    มีอาการสับสน ไม่มีสมาธิในการจดจ่อ
    ไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน
    ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
    ชัก
    แพ้แสงหรือไวต่อแสง
    ไม่มีความกระหายหรืออยากอาหาร
    ปวดหัวอย่างรุนแรงผิดปกติ
    ง่วงนอน หรือตื่นนอนยาก
    ผิวหนังเป็นผื่น โดยมักพบได้ในผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น

ในกรณีเด็กแรกเกิดจนกระทั่งอายุไม่เกิน 1 เดือน อาจมีอาการดังนี้

    ร้องไห้ตลอดเวลา
    มีไข้สูง
    ตัวและลำคอเกร็งแข็ง
    นอนหลับมากเกินไป หรือหงุดหงิดง่าย
    เฉื่อยชา เคลื่อนไหวน้อย
    กระหม่อมนูน
    ดื่มนมได้น้อยลงมาก

ทั้งนี้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นโรครุนแรงที่อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ดังนั้น ผู้ที่เกิดอาการในลักษณะข้างต้น หรือพบบุตรหลานที่มีอาการเข้าข่าย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที


สาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ โดยอาจเป็นได้ทั้งเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา แต่ส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัส


สาเหตุจากเชื้อไวรัส

เชื้อไวรัสที่สามารถไปสู่เยื่อหุ้มสมองและก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ เช่น ไวรัสโรคคางทูม (Mumps) ไวรัสโรคเริม (Herpes) ไวรัสจากโรคอีสุกอีใส (Chicken pox) และไวรัสจากไข้หวัด (Influenza)

ทั้งนี้ ผู้ที่เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสบางคน อาจไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เนื่องจากมีโอกาสน้อยมากที่เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสจะทำอันตรายต่อสมองถาวรหลังจากอาการติดเชื้อบรรเทาลงแล้ว


สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย

เชื้อแบคทีเรียที่มักเป็นสาเหตุของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้แก่

    Neisseria meningitidis (Meningococcus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่น
    Streptococcus pneumoniae (Pneumococcus) ที่พบได้ในภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ

ส่วนเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ที่มีโอกาสเป็นสาเหตุการเกิดได้เช่นกัน ได้แก่

    เชื้อแบคทีเรียโรคฮิบ (Haemophilus influenzae Type B)
    เชื้ออีโคไล (Escherichia coli: E. coli)
    เชื้อวัณโรค (TB)

การติดเชื้อจากแบคทีเรียที่เยื่อหุ้มสมองสามารถส่งผลอันตรายอย่างรุนแรง ซึ่งหากไม่รับการรักษาโดยเร็ว การติดเชื้อชนิดนี้จะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตหรือเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองและร่างกายส่วนอื่น ๆ อย่างถาวร

นอกจากนี้ การติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นผ่านการไอและจามได้ โดยแบคทีเรียที่เข้าไปสู่เลือดผ่านโพรงจมูก หู หรือส่วนอื่น ๆ ของทางเดินหายใจตอนบน และเข้าไปยังสมองในที่สุด


สาเหตุจากเชื้อรา

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราเป็นสาเหตุที่พบได้น้อย ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงมักจะไม่ติดเชื้อชนิดนี้ แต่ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างผู้ป่วยเอดส์มักมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดโรคนี้ด้วย


การวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

แพทย์จะวินิจฉัยโดยใช้ข้อมูลประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วย การตรวจร่างกาย ตรวจดูอาการของการติดเชื้อรอบ ๆ ศีรษะ ใบหู ลำคอ และผิวหนังตามแนวกระดูกสันหลัง รวมถึงดูอาการทางระบบประสาท เช่น อาการคอแข็ง ระดับสติสัมปชัญญะ สัญญาณชีพจร และอาจใช้การตรวจวินิจฉัยต่อไปนี้ร่วมด้วย

    การเก็บตัวอย่างโรค เนื่องจากแบคทีเรียเดินทางจากเลือดไปสู่สมองได้ แพทย์จึงใช้วิธีเก็บตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยเพื่อเพาะเชื้อหาสาเหตุการเกิดโรคในเลือดที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น N. meningitidis และ S. pneumoniae
    การถ่ายภาพด้วย CT Scan (Computerized Tomography) หรือ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ทำโดยการใช้เครื่องมือดังกล่าวถ่ายภาพของสมองที่อาจมีอาการบวมหรือพุพอง นอกจากนี้ แพทย์อาจถ่ายภาพบริเวณอกหรือโพรงจมูกเพื่อตรวจดูการติดเชื้อในบริเวณอื่นที่อาจเกี่ยวเนื่องกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบด้วย
    การเจาะน้ำไขสันหลัง นับเป็นวิธีที่แน่นอนและแม่นยำในการวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยผู้ป่วยจะถูกเจาะน้ำจากไขสันหลังไปตรวจสอบ


การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

วิธีการรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะขึ้นอยู่กับชนิดของการติดเชื้อ ได้แก่


ติดเชื้อแบคทีเรีย

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียแบบเฉียบพลันจำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที โดยรับยาปฏิชีวนะเข้าหลอดเลือดดำ ทั้งนี้ การจะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะใด ๆ ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ


ติดเชื้อไวรัส

อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสนั้นมักจะบรรเทาลงได้เองภายใน 2 สัปดาห์ และมักไม่ส่งผลให้เกิดผลกระทบใด ๆ ที่รุนแรง โดยแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อน ดื่มน้ำให้มาก และรับประทานยาลดไข้และบรรเทาอาการปวด

อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจให้ยาคอร์ติสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เพื่อลดการบวมในสมอง ยากันชัก (Anticonvulsant) เพื่อควบคุมการชักของผู้ป่วย หรือยาต้านไวรัส หากเป็นการติดเชื้อที่เกิดจากไวรัส Herpes หรือหากเกิดจากเชื้อชนิดอื่น สามารถรักษาโดยการให้ยาฆ่าเชื้อนั้น ๆ ร่วมกับการรักษาประคับประคองตามอาการ

นอกจากนี้ ในกรณีที่แพทย์พบว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือหมดสติ แพทย์อาจจำเป็นให้ผู้ป่วยนอนที่โรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาอย่างใกล้ชิดทันที
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนสามารถมีได้หลากหลาย ดังนี้

    ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)
    สมองเกิดความเสียหาย
    เชื้อเกิดการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย
    อาการชัก
    ปัญหาด้านความทรงจำและการจดจ่อสมาธิ
    ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว การประสานงาน และความสมดุลของร่างกาย
    ปัญหาด้านพฤติกรรม
    ปัญหาในการเรียนรู้เรื่องที่ยาก
    สูญเสียการได้ยิน อาจได้ยินเพียงบางส่วนหรือไม่ได้ยินเลยทั้งหมด
    สูญเสียแขนขา ผู้ป่วยอาจต้องตัดแขนขา ป้องกันการติดเชื้อไปสู่ร่างกาย
    ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อ เช่น ข้ออักเสบ
    ปัญหาเกี่ยวกับไต
    มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น อาการนอนไม่หลับ
    มีปัญหาในการพูด


การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เนื่องจากการติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถแพร่กระจายได้ทางการไอ จาม และการใช้ของใช้ส่วนตัวบางอย่างร่วมกัน เช่น แปรงสีฟัน หรือช้อน การรักษาสุขภาพและสุขอนามัยจึงสำคัญ โดยการล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารจากภาชนะเดียวกับผู้อื่น และเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

หากมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นการติดเชื้อชนิดที่ร้ายแรง แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการเกิดโรค

นอกจากนี้ อีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้คือการฉีดวัคซีน ซึ่งวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้แก่
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อฮิบ (Haemophilus Influenzae Type B)

วัคซีนนี้เป็นวัคซีนป้องกันเชื้อที่อาจก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ รวมถึงโรคอื่น ๆ เช่น ปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ ข้ออักเสบ ปอดอักเสบ โดยฉีดให้เมื่อเด็กอายุมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป

การฉีดวัคซีนชนิดนี้อาจมีผลข้างเคียง เช่น ทำให้เด็กรู้สึกเบื่ออาหาร โดยตัวอย่างการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อฮิบ ได้แก่

    อายุ 2–6 เดือน ให้ฉีดเดือนที่ 0 และเดือนที่ 2 โดยเข็มแรกนับเป็นเดือนที่ 0 และเข็มที่ 2 ฉีดในอีก 2 เดือนถัดมา และฉีดกระตุ้นอีกเมื่ออายุ 12–18 เดือน
    อายุ 7–11 เดือน ให้ฉีดเดือนที่ 0 และเดือนที่ 2
    อายุ 12–24 เดือน ให้ฉีดเข็มเดียว
    อายุมากกว่า 24 เดือน และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ให้ฉีดเดือนที่ 0 และเดือนที่ 2


วัคซีน IPD (Pneumococcal Vaccine)

วัคซีนนี้เป็นวัคซีนฉีดเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรียนิวโมคอกคัส (Pneumococcus) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด รวมถึงเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยมี 2 ชนิด คือ PCV13 ที่ครอบคลุมการติดเชื้อ 13 ชนิด และ PPSV23 ที่ครอบคลุมการติดเชื้อได้ 23 ชนิด

แพทย์จะฉีดวัคซีนนี้ให้ตามความเหมาะสม ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงทำให้บวมแดงบริเวณที่ฉีด หรือมีไข้อ่อน ๆ และจะค่อย ๆ บรรเทาลงเมื่อเวลาผ่านไป 2–3 วัน

โดยแพทย์อาจพิจารณาฉีดให้ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 65 ปี และเด็กที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ เด็กที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ติดเชื้อเอชไอวี ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานไม่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมหรือภาวะเสี่ยง และเด็กที่ได้รับการผ่าตัดใส่วัสดุเทียมของหูชั้นในหรือมีการเปลี่ยนอวัยวะ

ทั้งนี้ แม้วัคซีน IPD จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคอันตรายดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้ครอบคลุมเชื้อทุกสายพันธ์ุ และมีระยะเวลาป้องกันโรคเพียง 2–3 ปี
วัคซีนป้องกันโรคหัด โรคคางทูม และโรคหัดเยอรมัน (MMR)

วัคซีนชนิดนี้สามารถรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเหล่านี้ไปด้วย มีวิธีการโดยฉีดเข้าใต้ชั้นผิวหนัง ซึ่งการฉีดวัคซีนนี้อาจส่งผลข้างเคียงให้เกิดไข้ ผื่นแดง อาการของโรคหวัดต่าง ๆ และต่อมน้ำลายบวม

โดยตัวอย่างการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ได้แก่

    เด็ก ควรฉีดครั้งแรกอายุ 12–15 เดือน ครั้งที่ 2 อายุ 4–6 ปี ทั้งนี้ บางกรณี วัคซีนครั้งที่ 2 อาจฉีดเร็วขึ้น โดยฉีดหลังจากครั้งแรกอย่างน้อย 28 วัน
    ผู้ใหญ่ ผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป และเกิดหลังปีพ.ศ. 2499 ควรได้รับการฉีดวัคซีนโรคนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง

วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningitis ACWY Vaccine)

เป็นวัคซีนที่ป้องกันเชื้อโรคได้ 4 สายพันธุ์ คือ A, C, Y, และ W–135 ซึ่งสามารถช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคได้นาน 3 ปี ทั้งนี้ ชนิดเชื้อที่มักพบบ่อยในประเทศคือสายพันธุ์ A และ B โดยแพทย์มักฉีดให้ผู้ที่ต้องการเดินทางออกนอกประเทศที่อายุ 2 ปีขึ้นไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 27, 2025, 06:11:24 pm โดย siritidaphon »

 


























































กลยุทธ์การหาลูกค้าใหม่
ทํายังไงให้ขายของดี ออนไลน์
วิธีการหาลูกค้าของ sale
วิธีหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
การหาลูกค้าใหม่ รักษาลูกค้าเก่า
ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า
เพิ่มฐานลูกค้าใหม่
รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

หากลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
ทําไงให้ลูกค้าเข้าร้านเยอะ ๆ
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
เคล็ดลับขายของดี
ค้าขายไม่ดีทำอย่างไรดี
งานโพสโปรโมทงาน
ทํายังไงให้ขายของดี ออนไลน์
รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

ไม่รู้จะขายอะไรดี
อยากขายของดี
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
ขายสินค้าไม่สต๊อกสินค้า
เริ่มขายของออนไลน์
รับทำ seo ด่วน
smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

โพสกระตุ้นยอดขาย
วิธีกระตุ้นยอดขาย เซลล์
วิธีแก้ปัญหายอดขายตก
เริ่มต้นขายของ
แหล่งรับของมาขายออนไลน์
ขายของออนไลน์อะไรดี
อยากขายของออนไลน์
เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า