แจกเวบลงประกาศฟรี, ลงประกาศฟรีออนไลน์ โพสฟรี โพสต์ขายของฟรี

General Category => ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า => ข้อความที่เริ่มโดย: siritidaphon ที่ มีนาคม 27, 2024, 11:06:32 am

หัวข้อ: ตรวจโรค: ปอดทะลุ/ภาวะมีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax)
เริ่มหัวข้อโดย: siritidaphon ที่ มีนาคม 27, 2024, 11:06:32 am

ปอดทะลุ (ปอดรั่ว ภาวะมีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอดก็เรียก) หมายถึง ภาวะที่มีลมรั่วออกจากถุงลม (alveoli) เข้าไปขังอยู่ในโพรงเยื่อหุ้มปอด (pleural cavity) ลมที่รั่วจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และดันให้เนื้อปอดแฟบลง ทำให้มีอาการหายใจลำบาก และอาจเกิดภาวะช็อกถึงตายได้เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนัก


สาเหตุ
อาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ เรียกว่า ปอดทะลุจากการบาดเจ็บ (traumatic pneumothorax) เช่น ถูกยิง ถูกแทง รถชน เป็นต้น

หรืออยู่ดี ๆ อาจเกิดขึ้นเองก็ได้ เรียกว่า ปอดทะลุที่เกิดเอง (spontaneous pneumothorax) เกิดขึ้นเพราะมีการแตกของถุงลมที่ผิดปกติ มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมปอดโป่งพอง นอกจากนี้ยังอาจพบในคนที่เป็นโรคหืด ปอดอักเสบ ภาวะมีหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด วัณโรคปอด เป็นต้น หรือบางรายอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุก็ได้ มักพบในผู้ที่สูบบุหรี่

ถ้ามีลมรั่วไม่มาก อาจไม่มีอาการรุนแรง และหายได้เองภายในไม่กี่วัน

แต่ถ้ามีลมรั่วออกมามากมักจะทำให้เกิดอาการหอบรุนแรง หากช่วยเหลือไม่ทันอาจเสียชีวิตได้


อาการ
มีอาการแสดงได้หลายอย่างขึ้นกับปริมาณของลมที่รั่ว และสภาพของผู้ป่วย

บางรายอาจรู้สึกเจ็บหน้าอกแปลบขึ้นมาทันทีทันใด และอาจเจ็บร้าวไปที่ไหล่ หรือแขนข้างเดียวกัน แล้วต่อมารู้สึกหายใจหอบ

บางรายอาจมีอาการไอแห้ง ๆ ร่วมด้วย

บางรายอาจเพียงแต่รู้สึกแน่นอึดอัดในหน้าอกหรือเจ็บหน้าอกเป็นครั้งคราว คล้ายกับอาการของเยื่อหุ้มปอดอักเสบ   

เมื่อปล่อยไว้หลายวัน ถ้าลมยังรั่วออกมาเรื่อย ๆ จนดันให้เนื้อปอดข้างหนึ่งแฟบ ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการหอบมาก ชีพจรเต้นเร็ว และความดันต่ำ

ภาวะแทรกซ้อน
ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory failure) หรือเกิดภาวะช็อกได้


การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย

ในรายที่เป็นเล็กน้อย หรือเพิ่งมีอาการในระยะแรก การตรวจร่างกายอาจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน

ในรายที่มีลมรั่วออกไปในโพรงเยื่อหุ้มปอดในปริมาณมาก มักพบว่าหน้าอกข้างที่มีอาการผิดปกติ (เจ็บหน้าอกหรือแน่นอึดอัด) มีลักษณะเคาะโปร่งกว่าอีกข้างหนึ่ง ท่อลม (trachea) เบี้ยวไปข้างที่ไม่มีอาการผิดปกติ ใช้เครื่องฟังตรวจปอดจะไม่ได้ยินเสียงหายใจ หรือได้ยินค่อยมาก

ในรายที่เป็นรุนแรง อาจพบอาการหายใจลำบาก หรือภาวะช็อก

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ปอด และใช้เข็มต่อกับกระบอกฉีดยาเจาะที่ช่องใต้ซี่โครงซี่ที่ 2  (โดยฉีดยาชาก่อน) ถ้าพบมีลมดันเข้าไปในกระบอกฉีดยา แสดงว่ามีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอดจริง


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล และทำการเจาะระบายลมออก

หากพบมีสาเหตุชัดเจน ก็จะให้การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุร่วมด้วย

ผลการรักษา ส่วนใหญ่หายได้เป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าปล่อยให้มีภาวะรุนแรงมากและได้รับการรักษาล่าช้าไป ก็อาจเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้


การดูแลตนเอง

หากมีอาการเจ็บแปลบที่หน้าอก และ/หรือรู้สึกแน่นอึดอัดในหน้าอกข้างหนึ่งนานติดต่อกันเป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวัน ๆ ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว

เมื่อตรวจพบว่าเป็นปอดทะลุ ควรดูแลรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และติดตามการรักษากับแพทย์ตามนัด

ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินที่บ้าน ถ้ากินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา (เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ) ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด


การป้องกัน
สำหรับคนทั่วไป ควรไม่สูบบุหรี่ เพราะบุหรี่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปอดทะลุได้

สำหรับผู้ที่มีปอดทะลุจากโรคบางชนิด เช่น ปอดอักเสบ วัณโรคปอด ถุงลมปอดโป่งพอง เป็นต้น ก็ให้การป้องกันตามโรคต้นเหตุเหล่านี้


ข้อแนะนำ

1. โรคนี้ในระยะแรกอาจมีอาการเจ็บแปลบที่หน้าอกข้างหนึ่ง โดยไม่มีอาการหายใจหอบเหนื่อยและความผิดปกติอื่น ๆ อาจทำให้เข้าใจว่าเป็นเพียงการเจ็บยอกกล้ามเนื้อหน้าอกหรือเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ผู้ป่วยควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการต่อเนื่องกันเป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวัน ๆ หรือรู้สึกมีอาการแน่นอึดอัดในหน้าอกมากขึ้น หรือมีความวิตกกังวลว่าอาจมีสาเหตุที่ร้ายแรง ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์

2. ผู้ป่วยที่มีภาวะปอดทะลุเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อรักษาหายแล้ว ประมาณร้อยละ 50 อาจมีอาการกำเริบซ้ำได้อีก และถ้ามีประวัติสูบบุหรี่ ควรงดสูบบุหรี่เพื่อป้องกันมิให้มีอาการกำเริบซ้ำ



ตรวจโรค: ปอดทะลุ/ภาวะมีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/symptom-checker (https://doctorathome.com/symptom-checker)